KP-*-Kritabhorn

จริยธรรมและความปลอดภัย





                     จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิติร่วมกันในสังคม โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึง 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

                  1.ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) คือ สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ
                  2.ความถูกต้อง (Information Accuracy)             

                 3.ความเป็นเจ้าของ Information Property) คือกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และที่จับต้องไม่ได้เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทรัพสินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองสิทธิภยใต้กฎหมาย (1) ความลับทางการค้า (Trade Secret) (2) ลิขสิทฺธิ์ (Copyright) (3) สิทธิบัตร (Patent)
                  4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลสวนตัว

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

                   เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์

                   แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ไม่ถูกต้อง/ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านการสื่อสารเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
                   แคร็กเกอร์ (Cracker) คือแฮกเกอร์ที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ
                   Hacktivist หรือ Cyber Terrorist ได้แก่แฮกเกอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

ตัวอย่างมาตรากฎหมายการทำธุรกรรมทาง Electronic

               มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของ ข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
               มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
               มาตรา 20 ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ห้สันนิษฐานว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ส่งข้อมูลได้ส่งมา
               มาตรา 21  ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลงหรือระบุไว้ในมาตรฐานซึ่งใช้บังคับอยู่ ให้สันนิษฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปนั้นได้เป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคทั้งหมดแล้ว
               มาตรา 22  การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล
               มาตรา 23  การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล


วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

              1.Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนหรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลใดก็ได้ที่สามารถเข้าไปถึงตัวข้อมูล ตัวอย่างเช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บันทึกเวลาการทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาลงเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหากถูกแก้ไขเพียงเล็กน้อย พนักงานแต่ละคนแทบจะไม่สงสัยเลย
              2.Trojan Horse การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดีจะปรากฎตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์หรือการทำลายข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์
              3.Salami Techniques วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่สามารถจ่ายได้ แล้วนำเศษทศนิยมหรือเศษที่ปัดทิ้งมาใส่ในบัญชีของตนเองหรือของผู้อื่นซึ่งจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุลย์ (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงินออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า
              4.Superzapping มาจากคำว่า "Superzap" เป็นโปรแกรม "Marcro utility" ที่ใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน เสมือนกุญแจผี (Master Key) ที่จะนำมาใช้เมื่อกุญแจดอกอื่นหายมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utlity Program) อย่างเช่นโปรแกรม Superzap จะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี
              5.Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการไว้ในไฟล์ลับ
              6.Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะหรือสภาพการณ์ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือนแล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว
              7.Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างานที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น
             8.Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือบริเวณใกล้เคียง หลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งานแล้ว
             9.Data Leakage หมายถึงการทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่นการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าในขณะที่กำลังทำงาน คนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลตามที่ตนเองต้องการ
            10.Piggybacking วิธีการดังกล่าวสามารถทำได้ทั้งทางกายภาพ (physical) การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลคนนั้นได้เข้าไปแล้ว คนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังไม่ปิดสนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นกัน อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ใช้สายสื่อสารเดียวกันกับผู้ที่มีอำนาจใช้หรือได้รับอนุญาต เช่นใช้สายเคเบิลหรือโมเด็มเดียวกัน
            11.Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมยบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคารและแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีป้องกันมิให้เงินในบัญชีของเหยื่อ จึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสประจำตัว (Personal Identification Number: PIN) โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัส และได้เงินของเหยื่อไป
            12.Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก
            13. Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน การควบคุมและติดตามความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากรในการสร้างแบบจำลองในการวางแผนเพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่นในกิจการประกันภัย มีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการหรือช่วยในการตัดสินใจในการทำกรมธรรม์ประกัน ภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทประกันภัยล้มละลายเมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินเพียงการบันทึก(จำลอง)แต่ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุความ