KP-*-Kritabhorn

บทบาทของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา




               
                เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรกในการศึกษา ในระยะปลายทศวรรษที่ 1950 ซึ่งในขณะนั้นมหาวิทยาลัยใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ ในงานด้านบริหาร ได้ทำการศึกษาวิจัยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัยเรื่องหนึ่ง ได้แก่ โครงการเพลโต(PLATO) ที่ศึกษาการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมกัน
              ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ อันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคนี้ทุกคน ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงานในด้านต่างๆ ทางการศึกษาอย่างมากมาย  จากสารานุกรมศัพท์การศึกษาและจิตวิทยา สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ให้ความหมายของคำว่า คอมพิวเตอร์กับการศึกษา (Educational Computer) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยงานหลัก 3 ระบบ คือ งานบริหารการศึกษา งานบริการการศึกษา และงานด้านการเรียนการสอน

1.1 งานด้านการบริการการศึกษา
      

1) งานห้องสมุด (Library Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการห้องสมุด เช่น การค้นหนังสือแทนการใช้บัตรรายการ เป็นต้น
2) งานทดสอบ (Testing Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างข้อสอบวิเคราะห์และประเมินผลการเรียน เก็บไว้เป็นคลังข้อสอบเพื่อบริการแก่คณะครูอาจารย์
3) งานทะเบียน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา เก็บข้อมูลประวัตินักเรียนและบุคลการ จัดทำบัญชีเงินเดือน การจัดทำตารางสอนของนักเรียนและอาจารย์ผู้สอน
4) งานธุรการ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จัดพิมพ์เอกสาร คำนวณตัวเลข หนังสือราชการ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และจัดทำเอกสาร แผ่นพับ ข่าวสาร ตำรา แผ่นใส โปสเตอร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงานเอกสารของสถานศึกษา
5) งานโสตทัศนศึกษา เป็นศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ

 
 1.2 งานด้านการคลังและพัสดุ


 1) งานการเงินการคลัง ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเงินเดือนของครู ลูกจ้างและบุคลากรในสถานศึกษา ตลอดจนรายรับรายจ่ายอื่นๆ
 2) งานพัสดุ ได้แก่ ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างฐานข้อมูล และทะเบียนพัสดุ คุรุภัณฑ์ของสถานศึกษา การรับ-จ่ายหรือเบิกจ่ายวัสดุ พัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน

1.3 งานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
1) งานห้องสมุด (Library Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการห้องสมุด เช่น การค้นหนังสือแทนการใช้บัตรรายการ เป็นต้น

            2) งานทดสอบ (Testing Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างข้อสอบวิเคราะห์และประเมินผลการเรียน เก็บไว้เป็นคลังข้อสอบเพื่อบริการแก่คณะครูอาจารย์
            3) งานทะเบียน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา เก็บข้อมูลประวัตินักเรียนและบุคลการ จัดทำบัญชีเงินเดือน การจัดทำตารางสอนของนักเรียนและอาจารย์ผู้สอน
            4) งานธุรการ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จัดพิมพ์เอกสาร คำนวณตัวเลข หนังสือราชการ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และจัดทำเอกสาร แผ่นพับ ข่าวสาร ตำรา แผ่นใส โปสเตอร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงานเอกสารของสถานศึกษา
            5) งานโสตทัศนศึกษา เป็นศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ             

1) งานหลักสูตร (Curriculum Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตร เช่น ผลการเรียน อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนต่อครู
2) งานวิจัย(Research application) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บผลการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลทางสถิติต่างๆ เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา
3) งานวิเคราะห์งบประมาณ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์งบประมาณ หรือแผนงานประจำปี


1.4 งานด้านการบริหารงานทั่วไป

1) งานธุรการ เช่น พิมพ์หนังสือโต้ตอบ จัดเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการ
2) งานพัฒนาวิชาชีพ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แก่ครู เพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
3) งานแนะแนวและบริการพิเศษ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเก็บรายงานผลการเรียน และพฤติกรรมผู้เรียน เป็นต้น
4) งานเกี่ยวกับผู้บริหารสถาบันการศึกษา คอมพิวเตอร์สามารถช่วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาในการทำงานด้านต่างๆ เช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการควบคุมทรัพย์สินของสถาบัน
5) งานเกี่ยวกับการบริการพิมพ์เอกสารประกอบการเรียนการ เช่น การเตรียมโน้ตย่อ บทเรียนและการเตรียมแบบทดสอบ ฯลฯ งานด้านการคิดต่อคำนวณ



บทบาทของคอมพิวเตอร์ด้านการจัดการเรียนการสอน 


 บทบาทคอมพิวเตอร์ด้านการจัดการเรียนการสอน


คอมพิวเตอร์กับการจัดการเรียนการสอน สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
                 2.1 คอมพิวเตอร์กับการจัดการเรียนการสอนทั่วไป คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บสถิติต่างๆ
                         2.2 คอมพิวเตอร์กับการจัดการสอน (Computer Managed Insttruction หรือ CMI) คือการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน
               การ จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ จำเป็นต้องสร้างระบบการจัดการ เช่น การลงทะเบียนเรียน มีรายวิชาให้เลือกเรียนและสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซด์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีระบบในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนและผู้สอน สามารถบันทึกจำนวนครั้งที่เข้าใช้ระบบ ระยะเวลาในการใช้ ผลสอบของผู้เรียน ได้มีการพัฒนาทางด้านนี้และมีระบบจัดการสอน หลายระบบนำออกมาใช้ก็ตาม การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning เป็นการ เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytimex)



        
             1) งานหลักสูตร (Curriculum Application) ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตร เช่น ผลการเรียน อัตราส่วนระหว่างผู้เรียนต่อครู

             2) งานวิจัย(Research application) ได้แก่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บผลการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลทางสถิติต่างๆ เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา
             3) งานวิเคราะห์งบประมาณ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์งบประมาณ หรือแผนงานประจำปี